j

Austo tolit cetero ea eam, at atqui soleat moderatiu usu, vis ut illud putent corumpi. At wisi euripidi duo, vim vide omnies reformida. Populis inimi noluise mea.

Login Register
  • Thai
  • English
  • No products in the cart.

(Thai) 🥱รู้จักการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการนอนหลับ 💤

หากเรามีปัญหาในการนอนไม่หลับ และหลับไม่สนิท ซึ่งจะเกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราดังต่อไปนี้

👉 #การเปลี่ยนแปลงตามวัย

ตลอดช่วงอายุขัยของมนุษย์จะมีตารางเวลาในการนอนหลับที่เปลี่ยนไปตามวัย เช่น

🔹 เด็กแรกเกิด ต้องใช้เวลานอนวันละ 16 -20 ชั่วโมง

🔹 เด็กอายุ 1 – 4 ขวบ ใช้เวลานอนวันละ 11 -12 ชั่วโมง

🔹 เด็กโต ใช้เวลานอน 10 ชั่วโมง

🔹 ผู้ใหญ่ ใช้เวลานอน 8 ชั่วโมง

👉 #การเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบการนอน

นอกจากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องระยะเวลาในการนอนแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะการนอนด้วย เช่น

🔹 เด็กทารกจะนอนเป็นระยะตลอดทั้งวันทั้งคืน จะมีเวลาทำอย่างอื่นเพียงเล็กน้อย

🔹 เมื่อเด็กโตขึ้นก็เน้นการนอนช่วงกลางคืนและงีบนอนกลางวัน

🔹 ผู้ใหญ่จะเน้นนอนเฉพาะช่วงกลางคืน

นอกจากนี้การนอนหลับยังเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ในบางประเทศผู้คนจะมีการงีบหลับในช่วงกลางวันด้วย

👉 #การเปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมทางสมอง

การนอนหลับในแต่ละวัยกิจกรรมของสมองจะมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ

🔹 ทารก การนอนแบบหลับลึกจะมีปริมาณที่ค่อนข้างมาก

🔹 วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ปริมาณการนอนที่หลับลึกจะเริ่มลดน้อยลง

🔹 ผู้สูงอายุ ช่วงเวลาในการนอนที่หลับลึกจะค่อนข้างสั้นและน้อยลง

👉 #การนอนไม่หลับที่มีผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคเรื้อรัง

การเจ็บป่วย เช่น โรคข้ออักเสบ หัวใจล้มเหลว โรคซึมเศร้า และโรคกรดไหลย้อน ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ จะทำให้เกิดความตื่นตัวหลายครั้งในตอนกลางคืน

📎 ที่มา : med.harvard.edu