j

Austo tolit cetero ea eam, at atqui soleat moderatiu usu, vis ut illud putent corumpi. At wisi euripidi duo, vim vide omnies reformida. Populis inimi noluise mea.

เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
  • Thai
  • English
  • No products in the cart.
8 วิธีในการดื่มกาแฟให้ดีต่อสุขภาพ

8 วิธีในการดื่มกาแฟให้ดีต่อสุขภาพ

กาแฟจัดว่าเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ซึ่งมีประโยชน์โดยเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระและมีคาเฟอีนซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมองและเพิ่มการเผาผลาญ มาดูกันว่าการดื่มกาแฟอย่างไรจึงจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

  1. งดดื่มกาแฟหลังเวลา 14.00 น. กาแฟเป็นแหล่งของคาเฟอีนที่เป็นสารกระตุ้นให้พลังงาน ช่วยให้ตื่นตัวยามรู้สึกเหนื่อย แต่ถ้าคุณดื่มกาแฟเลยเวลาการทำงานไปใกล้จะนอน ก็อาจจะรบกวนการนอนหลับได้ ดังนั้นควรจะงดดื่มกาแฟตั้งแต่หลัง 14.00 น.
  2. ไม่ใส่น้ำตาลลงในกาแฟ เนื่องจากน้ำตาลส่วนใหญ่มาจากฟรุกโตสในปริมาณสูง ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับโรคร้ายแรง เช่น โรคอ้วนและโรคเบาหวาน โดยให้หลีกเลี่ยงมาใช้สารให้ความหวานตามธรรมชาติ เช่น หญ้าหวาน
  3. เลือกแบรนด์ออร์แกนิค การปลูกกาแฟจะมีการพ่นยาฆ่าแมลงและสารเคมีที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นหากสามารถเลือกแบรนด์ที่ปลูกแบบออร์แกนิคก็จะช่วยให้คุณปลอดภัยได้
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มในปริมาณมากเกินไป หลายคนที่ชื่นชอบกาแฟยิ่งรู้ว่ากาแฟมีประโยชน์ก็ยิ่งดื่มวันละหลายแก้ว ซึ่งโดยทั่วไปไม่ควรรับคาเฟอีน 2.5 ม.ก.ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน และโดยเฉลี่ยกาแฟหนึ่งแก้วจะมีคาเฟอีนประมาณ 95 มก. รองรับน้ำหนักตัว 38 ก.ก. แต่ถ้าดื่ม 2 แก้วก็จะเหมาะสำหรับคนที่น้ำหนัก 78 ก.ก. อย่างไรก็ตามการรับคาเฟอีนในปริมาณที่สูงอาจเกิดผลข้างเคียงได้แต่ก็ขึ้นกับปริมาณและสุขภาพของแต่ละคน
  5. เพิ่มอบเชยลงในกาแฟ อบเชยเป็นเครื่องเทศที่จะช่วยเพิ่มรสชาติให้กับกาแฟ อีกทั้งสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
  6. หลีกเลี่ยงครีมเทียม ครีมเทียมเกิดจากกระบวนการแปรรูป ซึ่งจะมีไขมันทรานส์ที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาหลอดเลือดอุดตัน แต่แบรนด์ดัง ๆ ก็ได้พยายามลดไขมันทรานส์ออกไป ทางที่ดีอาจหลีกเลี่ยงมาใช้นมเป็นแหล่งของแคลเซี่ยมและวิตามินเคที่ดีต่อกระดูก
  7. เพิ่มโกโก้ลงในกาแฟ โกโก้เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งสารอาหารและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่มากมาย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  8. ชงกาแฟโดยใช้ตัวกรองกระดาษ กาแฟที่ชงแล้วมีสารคาเฟสตอล ซึ่งเป็นไดเทอร์พีนที่สามารถเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้  แต่ก็สามารถใช้กระดาษกรองออกไปในขณะชงเพื่อลดระดับให้น้อยลงได้ โดยไม่มีผลต่อคาเฟอีนและสารต้านอนุมูลอิสระจะสามารถลอดผ่านไปได้

ที่มา : healthline นำเสนอเนื้อหาโดย : Orizan น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวสังข์หยด #น้ำมันรำข้าว