การรักษาโรคเบาหวาน
การรักษาโรคเบาหวานจะใช้ยาหลายชนิดด้วยกัน มีทั้งยากินและยาฉีด ซึ่งมีข้อมูลให้ทราบไว้เป็นแนวทาง เพราะการใช้ยาส่วนใหญ่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
เบาหวานชนิดที่ 1 การรักษาจะใช้อินซูลินแทนที่ฮอร์โมนที่ร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถผลิตได้เป็นหลัก ซึ่งอินซูลินที่ใช้กันมากที่สุดมี 4 ประเภท มีความแตกต่างกันตามความเร็วที่เริ่มการทำงาน และระยะเวลาที่ออกฤทธิ์ ได้แก่
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็ว เริ่มทำงานภายใน 15 นาที และออกฤทธิ์นาน 3 – 4 ชั่วโมง
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์ในเวลาอันสั้น เริ่มทำงานภายใน 30 นาที และกินเวลา 6 – 8 ชั่วโมง
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลาง เริ่มทำงานภายใน 1 – 2 ชั่วโมง และกินเวลา 12 – 18 ชั่วโมง
- อินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน เริ่มทำงานหลังจากฉีดสองสามชั่วโมง และอยู่นาน 24 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น
เบาหวานชนิดที่ 2 สามารถรักษาโดยควบคุมการกินอาหารและออกกำลังกาย หากไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตัวเองมากพอที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ก็ถึงคราวจำเป็นที่ต้องพึ่งพายา ได้แก่
- สารยับยั้งอัลฟา-กลูโคซิเดส ชะลอการสลายตัวของน้ำตาลและอาหารประเภทแป้ง
- Biguanides ลดปริมาณกลูโคสที่ตับสร้าง
- สารยับยั้ง DPP-4 ปรับปรุงน้ำตาลในเลือดโดยไม่ทำให้ลดลงต่ำเกินไป
- เปปไทด์คล้ายกลูคากอน เปลี่ยนวิธีที่ร่างกายผลิตอินซูลิน
- เมกลิทิไนด์ กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลินมากขึ้น
- สารยับยั้ง SGLT2 เพิ่มการปล่อยกลูโคสออกสู่ปัสสาวะมากขึ้น
- ซัลโฟนิลยูเรีย กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลินมากขึ้น
- Thiazolidinediones ช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น
โรคเบาหวารขณะตั้งครรภ์ เบื้องต้นจะใช้วิธีควบคุมการกินอาหารและออกกำลังกาย แต่ถ้าไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อาจต้องใช้อินซูลินที่ปลอดภัยสำหรับการเจริญเติบโตของทารกเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด
ที่มา : healthline.com เสนอเนื้อหาโดย : Orizan น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวสังข์หยด #น้ำมันรำข้าว