การเลือกรับประทานอาหารมีผลต่อสุขภาพจิต
ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าเป็นหนึ่งในภาวะสุขภาพจิตที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่าภาวะซึมเศร้าอาจเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพอันดับต้นๆ ของโลกภายในปี 2030 และจิตเวชศาสตร์โภชนาการได้ทำการวิจัยถึงบทบาทของโภชนาการในการพัฒนาและการรักษาปัญหาสุขภาพจิต
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า จากผลการศึกษา 21 ชิ้นใน 10 ประเทศพบว่าการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นที่การบริโภคผลไม้ ผัก เมล็ดพืชทั้งเมล็ด น้ำมันมะกอก ปลา ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และสารต้านอนุมูลอิสระสูง รวมทั้งการรับประทานอาหารจากสัตว์ในปริมาณน้อย มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า
รับประทานอาหารแบบตะวันตกเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า การกินเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปสูง ธัญพืชขัดสี ขนมหวาน ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง เนย และมันฝรั่ง รวมถึงการรับประทานผักและผลไม้ในปริมาณน้อย มีความสัมพันธ์กับการเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ผู้สูงอายุ การศึกษาในผู้ใหญ่อายุเกิน 50 ปีพบว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงและน้ำตาลที่เพิ่มมากขึ่นมีความเชื่อมโยงกับระดับความวิตกกังวลที่สูงขึ้น
เด็กวัยรุ่น จากการศึกษา 56 ชิ้น พบว่าการกินอาหารเพื่อสุขภาพในปริมาณมาก เช่น น้ำมันมะกอก ปลา ถั่ว พืชตระกูลถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนม ผลไม้ และผัก จะมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าในช่วงวัยรุ่น
อาหารเสริม นักวิทยศาสตร์พบว่าการได้รับสารอาหารบางชนิดในระดับต่ำ เช่น โฟเลต แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี และวิตามิน B6, B12 และ D มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ที่แย่ลง รู้สึกวิตกกังวล และเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า รวมทั้งโอเมก้า 3 เป็นไขมันจำเป็นในการพัฒนาสมองและการส่งสัญญาณของเซลล์ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและมีความสำคัญต่อสุขภาพสมอง
ที่มา : medicalnewstoday.com เสนอเนื้อหาโดย : Orizan น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวสังข์หยด #น้ำมันรำข้าว