เมื่อปวดหัวแบบตึงเครียดควรทำอย่างไร ?
ปวดหัวแบบตึงเครียดเป็นอาการปวดหัวที่พบบ่อยที่สุดประมาณ 50 – 70% ของคนทั่วโลก ซึ่งเกิดจากความเครียดทางร่างกายหรืออารมณ์ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ ขาดการออกกำลังกาย ปวดตา ขาดน้ำ ทนกับเสียงดังเป็นประจำ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า กัดกราม ดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงนอนน้อย อาการจะรู้สึกไม่สบายตัวแต่ไม่ได้เป็นรุนแรง จะเป็นอยู่นานราว 30 นาทีไปจนถึงหนึ่งสัปดาห์ แต่เวลาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 4 – 6 ชม.
ปวดหัวแบบตึงเครียดมี 3 ระยะ ด้วยกัน ได้แก่ เป็นไม่บ่อย เป็นอย่างน้อย 10 ครั้งต่อปี อย่างน้อยเดือนละครั้ง ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาจรู้สึกปวดตามการรบกวนจากเสียงและแสง จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 30 นาทีจนนานถึง 7 วัน, เป็นบ่อย จะมีอาการ 10 ครั้งขึ้นไปในหนึ่งปี เกิดขึ้นได้ 1 – 14 วันในแต่ละเดือน และเฉลี่ยเกิดขึ้น 12 – 180 วันในหนึ่งปี แต่จะไม่มีอาการคลื่นไส้ อาจรู้สึกปวดตามการรบกวนจากเสียงและแสง จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 30 นาทีจนนานถึง 7 วัน และ ปวดตึงเครียดแบบเรื้อรัง จะมีอาการโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 15 วันในแต่ละเดือนและเป็นนานกว่า 3 เดือน อาจมีอาการคลื่นไส้เล็กน้อย ปวดตามการรบกวนจากเสียงและแสง ปวดนานหลายชั่วโมงหรืออาจเป็นอย่างต่อเนื่อง
การวิธีเยียวยารักษา หากเป็นไม่บ่อยก็สามารถใช้ยาช่วย เช่น แอสไพรินไอบูโพรเฟน หรืออะเซตามิโนเฟน แต่การกินยามากเกินไปอาจเสี่ยงพัฒนาไปเป็นปวดหัวแบบตึงเครียดเรื้อรัง เพราะเมื่อยาหมดฤทธิ์ก็จะกลับมาปวดอีก นอกจากนี้ยังมีวิธีบรรเทาโดยไม่ต้องใช้ยา ได้แก่ อาบน้ำอุ่น ประคบถุงน้ำแข็งไว้บนศีรษะ หาวิธีผ่อนคลายดูหนังฟังเพลงร้องเพลง นวด โยคะ และอโรมาเทอราพี
ที่มา : medicalnewstoday
นอกจากนี้แอดมินขอแนะนำการกินน้ำมันรำข้าวที่มีสาร N-Acetylserotonin เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารเมลาโทนิน ได้ชื่อว่าเป็น “ฮอร์โมนแห่งรัตติกาล” ช่วยในการนอนอหลับ สารตัวนี้ยังมีฤทธิ์คลายความเครียด คลายกังวล ต้านซึมเศร้า ต้านอนุมูลอิสระปกป้องสมอง และปกป้องเซลล์รับแสงจากจอประสาทตาอีกด้วย ข้อดีอีกอย่างคือลดการใช้ยา
นำเสนอเนื้อหาโดย : Orizan น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวสังข์หยด #น้ำมันรำข้าว