j

Austo tolit cetero ea eam, at atqui soleat moderatiu usu, vis ut illud putent corumpi. At wisi euripidi duo, vim vide omnies reformida. Populis inimi noluise mea.

เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
  • Thai
  • English
  • No products in the cart.

ผมร่วงนี้มีที่มา : 7 สาเหตุอาการผมร่วงมากผิดปกติ

ตามธรรมชาติ อะไรที่หมดอายุขัยย่อมร่วงโรยไป เปิดทางให้สิ่งใหม่เข้ามาแทนที่ ผมของคนเราก็เช่นกันค่ะ จากคำอธิบายของนายแพทย์สุวรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ ตลอดชีวิตคนเรามีเส้นผมประมาณ 80,000-1,200,000 เส้น แต่ละเส้นงอกยาวขึ้นวันละประมาณ 0.35 มม. และมีอายุ 2-3 ปีก่อนหลุดร่วงไป โดยปกติแล้ว ในวันหนึ่งๆ เส้นผมคนเราหลุดร่วงประมาณ 30-50 เส้น แต่ถ้าผมของเราร่วงมากกว่านั้นถือว่าร่วงมากผิดปกติแล้วค่ะ หากปล่อยไว้นานเข้าอาจทำให้ผมบางหรือศีรษะล้านก่อนวัยอันควรได้ ดังนั้นควรหาสาเหตุให้พบเพื่อหาทางป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี

สำหรับสาเหตุของอาการผมร่วงมากผิดปกติมี 7 ข้อ ดังนี้ค่ะ

1. กรรมพันธุ์ ในร่างกายคนเรามีฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่ง แต่ก็พบได้ทั้งในชายและหญิง ฮอร์โมน DHT เป็นตัวควบคุมการผลัดผม ซึ่งในร่างกายบางคน ฮอร์โมนตัวนี้ออกฤทธิ์จะแรงเป็นพิเศษ ทำให้เส้นผมร่วงเร็วกว่าปกติ และเมื่อรากผมผลิตผมเส้นใหม่ๆ ก็จะได้ผมที่สั้นและบางกว่าเดิม โดยมากจะเกิดบริเวณหน้าผากและกระหม่อม และในผู้ชายมักมีอาการเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนในผู้หญิงมักมีอาการหลังวัยหมดประจำเดือน

2. เส้นผมหยุดเจริญเติบโตชั่วคราว ร่างกายอาจเผชิญสภาวะบางอย่างซึ่งทำให้ผมหยุดงอกและหลุดร่วงก่อนหมดอายุขัย เช่น อยู่ในช่วงพักฟื้นหลังรับการผ่าตัดใหญ่หรือคลอดบุตร ได้รับผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรือได้รับผลกระทบจากความเครียด โดยทั่วไปอาการนี้มักเกิดขึ้น 1-3 เดือน แล้วจะกลับเป็นปกติ

3. การดึงผมหรือถอนผม มักพบในเด็กที่มีความกดดันทางจิตเช่น ถูกกดดันจากครอบครัวหรือการเรียน บางคนอาจถอนผมเล่นจนเป็นนิสัย ผมบริเวณที่ถูกถอนมากๆ จะแหว่งและเหลือเป็นตอสั้นๆ

4. เชื้อรา เด็กบางคนอาจติดเชื้อราหรือกลากบนหนังศีรษะ ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม หนังศีรษะเป็นผื่นแดง มีอาการคัน เป็นขุย หรือตกสะเก็ด

5. การทำผมแต่งผม การม้วนผม ย้อมสีผม ดัดผม ยืดผม เป่าผม ตลอดจนใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผมต่างๆ อาจทำให้ผมแห้งเสีย เปราะหัก หรือหนังศีรษะอักเสบจากการระคายเคือง จึงทำให้ผมร่วงในที่สุด

6. ยาและการฉายรังสี การใช้ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงได้ เช่น ยารักษามะเร็ง ยาป้องกันเลือดแข็งตัว ยารักษาคอพอกเป็นพิษ ยาคุมกำเนิด ยาป้องกันโรคเกาต์ ฯลฯ รวมถึงการฉายรังสีรักษามะเร็ง

7. โรคบางชนิด ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี รวมทั้งโรคเรื้อรังอย่างเช่น ไทรอยด์ ซิฟิลิส โรคตับ โรคไต ฯลฯ อาจมีอาการผมร่วงผมบางด้วย

นอกจากนั้นยังมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด โดยจะมีผมร่วงเป็นวงๆ ตั้งแต่ 1-2 วง ไปจนถึงมากกว่า 10 วงทั่วหนังศีรษะ แต่หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงกลับไม่มีอาการอักเสบใดๆ แถมบางครั้งยังลามไปถึงขนคิ้วและขนตาร่วง บางคนมีอาการแบบนี้เป็นปีแล้วจึงหายเองตามธรรมชาติ แต่บางคนก็อาจกลับมาเป็นใหม่

สำหรับใครที่มีอาการผมร่วงมากผิดปกติ ลองสังเกตุอาการดูนะคะว่าเราผมร่วงเพราะสาเหตุอะไร เพื่อที่เราจะได้สามารถรักษาปัญหาผมร่วงได้เหมาะสม ที่สำคัญอย่าลืมสระผมเพื่อทำความสะอาดผมและหนังศีรษะสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายเส้นผมกับหนังศีรษะทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการดึงผมถอนผม การเกาหนังศีรษะแรงๆ การใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผมที่มีสารเคมีรุนแรง รวมถึงการหมกมุ่นกับความเครียด แต่ถ้าและหากพบว่าอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันทีค่ะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก: สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Post a Comment