j

Austo tolit cetero ea eam, at atqui soleat moderatiu usu, vis ut illud putent corumpi. At wisi euripidi duo, vim vide omnies reformida. Populis inimi noluise mea.

เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
  • Thai
  • English
  • No products in the cart.

การนอนหลับ

ความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับของคนทั่วไป

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคนเรานอนเพียงแค่เพื่อการพักผ่อนหลังจากทำงานมาเหน็ดเหนื่อยทั้งวัน ด้วยเหตุผลนี้จึงมีคนหลายคนนอนกลางวันหลังจากอ่อนเพลียจากการทำงานช่วงเช้า โดยไม่รู้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับในช่วงกลางคืน บางคนเข้าใจผิดว่ายิ่งนอนมากยิ่งดี อันที่จริงการนอนมากเกินไปกลับมีผลเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลนี้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับน่าจะมีผลดีในการนำความรู้ดังกล่าว ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

ความสำคัญของการนอนหลับ

การนอนหลับมีความสำคัญต่อร่างกาย สมอง แม้กระทั่งจิตใจ โดยเราจะสังเกตได้ว่า วันใดก็ตามที่เราอดนอน สมองจะไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก มักใช้เวลานานกว่าปกติในการทำอะไรก็ตาม ส่วนเรื่องอารมณ์ก็ไม่ค่อยจะปกตินัก โดยอาจมีเรื่องไม่เข้าใจกันกับคนในบ้านโดยไม่สมเหตุสมผล

หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการนอนหลับ

การนอนหลับไม่ได้ขึ้นอยู่แค่จำนวนชั่วโมงในการนอน ความลึกของการนอนหลับกับเวลาที่เข้านอนก็มีความสำคัญ ยกตัวอย่างง่ายๆบางคนอาจเคยสังเกตว่า ถึงแม้จะนอนเป็นระยะเวลาที่เพียงพอ แต่ถ้านอนหลับๆ ตื่นๆ กลิ่งไปกลิ่งมาทั่งคืน ตื่นขึ้นมาก็ไม่ได้รู้สึกสดชื่นเท่าที่ควร เรามาดูรายละเอียดกันหน่อยดีกว่าเกี่ยวกับเรื่องการนอน

 –  ระยะเวลาในการนอน (duration)

โดยทั่วไประยะเวลาในการนอนที่เหมาะสมนอกจากจะขึ้นอยู่กับอายุแล้ว ยังแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยทั่วไปเด็กต้องการระยะเวลาในการนอนมากกว่าผู้ใหญ่

–  คุณภาพของการนอน (quality)

ถ้าคนเรานอนหลับไม่ลึกพอ โดยส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่สดชื่นเวลาตื่นขึ้นมาตอนเช้า (unrested sleep) ระบบความจำอาจไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้จำอะไรที่เรียนรู้มาไม่ค่อยได้ดีนัก

–  เวลาเข้านอน-ตื่นนอน (sleep-wake time)

บางคนที่เปลี่ยนเวลาเข้านอนบ่อย เช่น นอนดึกตื่นสายช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนในวันที่เริ่มทำงานในช่วงต้นของสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันจันทร์ เนื่องจากจะต้องปรับตัวให้ตื่นเช้าขึ้น โดยอาจส่งผลให้มีอาการง่วงนอนในช่วงเวลาทำงานในตอนกลางวัน และ ถ้าในวันนั้นง่วงมากทนไม่ไหวจนต้องนอนหลับในช่วงเย็นก็อาจมีผลให้นอนไม่ค่อยหลับในคืนนั้น

อาการของการนอนหลับผิดปกติ (sleep symptoms)

 –  นอนกรน (Snoring)

ถึงแม้ว่าคนเราอาจมีแค่อาการกรนอย่างเดียวโดยไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย (primary snoring) อาการกรนเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนไข้   obstructive sleep apnea ซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว เช่น cardiovascular problems, metabolic syndrome และอื่นๆ

 –  หยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)

เป็นอาการที่พบในคนไข้ obstructive sleep apnea ที่สำคัญอาการนี้อาจจะสังเกตได้ยากถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สำลักขณะนอนหลับ (waking up choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (waking up gasping) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคนไข้นอนคนเดียวไม่มีคนนอนข้างๆค่อยสังเกตให้

 –  ตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะ (Nocturnal Urination)

ถึงแม้อาการนี้พบได้บ่อยในคนไข้เบาหวาน อาการนี้ก็สามารถพบได้เช่นกันในคนไข้ obstructive sleep apnea โดยเชื่อว่าอาจจะเกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้นหลังคนไข้ดังกล่าวหยุดหายใจ ซึ้งเป็นการตอบสนองอย่างหนึ่งในช่วงดังกล่าว (bradycardia-tachycardia) ด้วยเหตุนี้เลือดไปที่ไตเพิ่มขึ้น จึงมีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นในขณะนอนหลับ โดยในขณะเดียวกัน obstructive sleep apnea เองก็ทำให้คนไข้นอนหลับไม่ค่อยลึกพอ จึงทำให้คนไข้สามารถรับรู้ถึงอาการปวดปัสสาวะ

 –  ปวดศีรษะหลังจากเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache)

คนไข้ที่มีอาการ hypoventilation ขณะนอนหลับจะไม่สามารถขับถ่าย carbon dioxide ออกจากร่างกายได้อย่างเพียงพอ มีผลทำให้ เส้นเลือดเเดงในสมองขยายตัวจาก respiratory acidosis จึงทำให้มีอาการปวดศีรษะซึ้งอาการดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในช่วงเช้าๆ

 –  ขาขยุกขยิก (Restless Legs)

พบได้ในคนไข้ Restless leg syndrome โดยคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีความรู้สึกผิดปกติที่ขา ทำให้ต้องขยับไปมาเพื่อทำให้อาการดังกล่าวทุเลาลง อาการนี้มักเกิดในช่วงค่ำๆ โดยอาจพบอาการนี้ได้ในคนไข้โลหิตจาง (Iron deficiency) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ (pregnancy) คนไข้โรคไตวาย (chronic renal failure) และโรคอื่นๆ

 –  ขาขยับไปมาขณะนอนหลับ (Periodic Limb Movement During Sleep)

เป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง สามารถพบร่วมได้ในคนไข้  Restless leg syndrome, Narcolepsy, Obstructive sleep apnea  และโรคอื่นๆ

 –  ง่วงนอนผิดปกติในช่วงเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness)

เป็นอาการที่มีความสำคัญมากที่ต้องรีบตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา เนื่องจากอาการนี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะ หรือจากการทำงาน อาการนี้โดยทั่วไปพบได้ในโรคอะไรก็ตามที่ทำให้คนไข้นอนหลับพักผ่อนได้ไม่เพียงพอหรือไม่ลึกพอ (sleep

fragmentation) ซึ้งสามารถเกิดได้ในโรคต่างๆ เช่น insomnia, obstructive sleep apnea, narcolepsy และอื่นๆ

–  Cognitive Dysfunctions

คนไข้ที่นอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับอาจมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมอง รวมทั้งความทรงจำทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

   

 การรักษาอาการและโรคการนอนหลับผิดปกติ (Treatment)

ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคการนอนหลับผิดปกติ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวินิจฉัยสาเหตุของโรค และรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุ อย่างไรก็ตามความผิดปกติบางอย่าง นอกจากต้องรักษาที่สาเหตุแล้ว ยังอาจต้องการรักษาที่ตัวอาการด้วย อาการดังกล่าวได้แก่ อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง (chronic insomnia)

การรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับมีหลักการเหมือนกับการรักษาโรคอื่นๆ โดยแบ่งเป็น

  –   การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-pharmacologic therapy)

  –   การรักษาโดยใช้ยา (Pharmacologic therapy)

หรืออาจสามารถแบ่งเป็น

–   การรักษาที่สาเหตุ (specific treatment)

–   การรักษาอี่นๆ ร่วมด้วย (supportive treatment)

ในขณะที่ได้รับการรักษา สิ่งที่สำคัญพอๆกันคือความสม่ำเสมอของการรักษา (treatment compliance) และการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

Credit : https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/knowledge-about-sleep

 

 

 

Post a Comment