j

Austo tolit cetero ea eam, at atqui soleat moderatiu usu, vis ut illud putent corumpi. At wisi euripidi duo, vim vide omnies reformida. Populis inimi noluise mea.

เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
  • Thai
  • English
  • No products in the cart.

การใช้ยารักษาปัญหานอนไม่นอนหลับ

สำหรับคนที่นอนไม่หลับพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ใช้ยาต่าง ๆ แล้วไม่ได้ผล เนื่องจากมีพฤติกรรมบางอย่างก่อกวนหรือรบกวนการนอนในตอนกลางคืน จึงจำเป็นต้องใช้ยาเข้าช่วย ซึ่งต้องรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งจะแนะนำการรักษาโดยใช้ยาเริ่มจากปริมาณต่ำแล้วค่อยปรับไปอย่างช้า ๆ ตามระดับของอาการ

การใช้ยากระตุ้นในการนอนหลับจะมีความเสี่ยงต่อผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งจะเสี่ยงต่อการหกล้มกระดูกหัก งุนงง และความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลง ควรพยายามหยุดการใช้ยาหลังจากการนอนหลับกลับสู่ปกติแล้ว

นอกจากนี้การใช้ยาต้านอาการทางจิตควรระมัดระวัง เพราะจากการวิจัยของ อ.ย. สหรัฐฯ พบว่ามีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อโรคหลอดเลือดสมองและการเสียชีวิตในผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งห้ามใช้กับคนที่มีอาการสมองเสื่อม (สรุปว่าควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ บทความนี้นำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาและกระตุ้นเตือนให้เกิดความระมัดระวัง)

ตัวอย่างของยาที่ใช้รักษาอาการนอนไม่หลับ ได้แก่

🔸 ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก เช่น nortriptyline
🔸 Benzodiazepines เป็นกลุ่มยานอนหลับ และยาคลายเครียดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ลอราซีแพม ออกซาซีแพม และเตมาซีแพม
🔸 Sleeping pills คือ ยานอนหลับ เช่น ซอลพิเดม ซาเลปลอน และคลอรัลไฮเดรต
🔸 Atypical ยาต้านโรคจิตเภท เช่น risperidone, onlanzapine และ quetiapine
🔸 ยารักษาโรคจิตเภท classical antipsychotics เช่น haloperidol

ทั้งนี้ อ.ย. สหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ใช้ยา Belsomra แก้ปัญหาการนอนไม่หลับในผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ระดับอ่อนถึงปานกลางได้ แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

📎 ที่มา : alz.org